ทำไม? ใช้ไฟเท่าเดิม แต่จ่ายค่าไฟแพงขึ้น
ทำไม? ใช้ไฟเท่าเดิม แต่จ่ายค่าไฟแพงขึ้น
สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยที่เป็นปัญหาใหญ่ตั้งแต่ ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบันนี้ คือปัญหาการจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ทั้งที่การใช้งานไฟฟ้าเท่าเดิม ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนทุกภาคส่วน
วันที่ 20 เม.ย. 2566 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายละเอียดการคำนวณค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค. 2566 ทั้งในส่วนที่เป็นบ้านอยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ โดยคิดค่า Ft ในอัตราเดียวกัน ที่ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย
![]() |
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ชี้แจงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดราคาค่าไฟว่า สาเหตุหลักของค่าไฟฟ้าแพงเนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่สูง และปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลงค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ รัฐบาลได้ยืนยันจะทยอยปรับลดค่าไฟฟ้าตามราคาเชื้อเพลิงที่ลดลงในอนาคต พร้อมเผยรายละเอียดการคำนวณงวด พ.ค. - ส.ค. 2566 พร้อมดำเนินการให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
นอกจากนี้ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) อธิบายทำไมถึงใช้ไฟเท่าเดิม แต่จ่ายค่าไฟแพงขึ้น?
สาเหตุหลักจะมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องทำความเย็นประเภทต่าง ๆ จะ “กินไฟเพิ่มขึ้น” เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แม้ว่าจะใช้งานเท่าเดิม ทั้งจำนวนชิ้น และระยะเวลาการใช้งาน
![]() |
ยิ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ จะต้องทำความเย็น หรือทำอุณหภูมิให้เท่ากับที่เราตั้งค่าไว้ แต่เมื่ออากาศร้อนขึ้น เครื่องไฟฟ้าเหล่านี้ก็ทำงานหนักขึ้น เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้เท่าเดิม ส่งผลทำงานหนักขึ้น ถึงแม้ใช้เวลาเท่าเดิมแต่อัตราการใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี และทุกการร้อนขึ้น 1 องศา จะทำให้อัตราการกินไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 3%
วิธีการลดค่าไฟอย่างยั่งยืน อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟ เปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ที่ใช้ไฟน้อยลงรวมไปถึงเทรนด์ใหม่ที่มาแรงในตอนนี้คือการติดตั้งระบบ solar หรือผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หรือโทร 086-3404548, 086-3408915 |
ข้อมูลอ้างอิง