06/05/2022
ระบบท่อลมในโรงงานที่มีอายุมากกว่า 5 ปี สามารถเกิดโอกาสลมรั่วได้ถึง 25% เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการสร้างลมอัดอากาศอยู่ตลอดเวลา และการรั่วไหลของอากาศประมาณ 80% ไม่สามารถที่จะได้ยิน ดังนั้น เพื่อลดปัญหาเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด การติดตั้งเครื่องมือเพื่อช่วยตรวจเช็คการรั่วไหลของลมจึงถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะการใช้ลมก็ถือว่าเป็นต้นทุนการผลิตด้วยเช่นกัน
จะดีกว่าไหม ถ้าทำให้ปั๊มลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและใช้ลมนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการติดเครื่องมือวัดปริมาณเข้าและออกของลมในแต่ละไลน์การผลิตด้วยมิเตอร์วัดอัตราการไหลระบบอัลตราโซนิค (Ultrasonic Flow Meter TRX/TRZ) เพื่อตรวจเช็คการทำงานของปั๊มลมและระบบท่อส่งในโรงงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
![]() |
1. ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหลและเพาเวอร์มิเตอร์หลังขาออกคอมเพรสเซอร์แต่ละตัว
สามารถแสดงผลปริมาณอากาศที่ผลิตได้ต่อปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้
ติดตามสถานะการทำงานและความผิดปกติของคอมเพรสเซอร์ เช่น ฟิลเตอร์เริ่มจะตัน
เห็นภาพระบบการทำงานและการควบคุมการทำงานเปิด-ปิดคอมเพรสเซอร์ได้ชัดเจนมากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจำเป็นต้องเพิ่มลดจำนวนยูนิตหรือไม่
แสดงผลปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2
2. ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหลหลังขาออกจากแท้งค์เก็บลม
แสดงค่าปริมาณลมที่ใช้ไป และลมที่รั่วไหลรวมทั้งโรงงาน *การรั่วไหลของลมโดยทั่วไปมี 20 - 30% ของปริมาณการใช้ลมทั้งหมดในโรงงาน
แสดงค่าปริมาณลมที่รั่วไหลอย่างเห็นได้ชัด ทำให้สามารถตั้งเป้าหมายในการลดลมที่รั่วไหลได้ง่ายขึ้น และบรรลุเป้าหมายในการลดพลังงานได้อย่างรวดเร็ว
* ค่าเป้าหมายสำหรับการลดการรั่วไหลของลมโดยทั่วไปคือ 10% หรือน้อยกว่าจากการใช้งานทั้งหมด
3. ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหลที่แต่ละไลน์การผลิต
เมื่อเทียบกันกับวิธีการในข้อ 2. ติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหลหลังขาออกแท้งค์เก็บลม วิธีการนี้สามารถแสดงว่าเกิดลมรั่วในจุดไหนได้ชัดกว่า และสามารถกำหนดลำดับความสำคัญในการบำรุงซ่อมแซมจุดที่เกิดการรั่วไหลของลมได้
สามารถดำเนินการได้อย่างละเอียดมากกว่าการซ่อมบำรุงเบื้องต้น และทำให้บรรลุเป้าหมายการลดต้นทุนได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้ทราบค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ เมื่อเทียบกับปริมาณลมที่ผลิตได้ ทำให้เห็นต้นทุนลมที่ใช้ต่อหน่วยเมื่อเทียบกับค่าไฟ
ทราบปริมาณการใช้ลมในภาพรวมทั้งโรงงานและภาพรวมของลมรั่วที่เกิดขึ้นในโรงงานได้
ทราบจุดที่ทำให้เกิดลมรั่ว และลดอัตราลมรั่วให้น้อยลง
TRX (เกลียว) สำหรับควบคุมปลายสายงาน |
TRX (หน้าแปลนประกบ) สำหรับการบริหารอาคาร/ |
TRZ (หน้าแปลน) สำหรับการจัดการท่อหลัก |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ต่อโดยขันหัวเกลียวไปในท่อ |
ใส่โบลด์ยาวที่แนบมาร้อยผ่าน |
![]() |
|
|||||||
![]() |
|
|||||||
![]() |
**ถ้าภายในท่อสกปรกมาก แนะนําให้ติดตั้งในตำแหน่งท่อแบบแนวตั้ง |
|||||||
|
||||||||
![]() |
|
|||||||
![]() |
|
|||||||
![]() |
|