สารพันน่ารู้กับกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermoscan)

สารพันน่ารู้กับกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermoscan)

กล้องถ่ายภาพความร้อนคืออะไร?

    กล้องถ่ายภาพภาพความร้อนเป็นการวัดอุณหภูมิผ่านภาพถ่ายจากเซนเซอร์ถ่ายภาพรังสีอินฟราเรดที่แผ่กระจายอยู่ที่วัตถุ และแสดงออกมาในรูปแบบของภาพถ่ายที่มีแถบสี ซึ่งแต่ละแถบสีก็จะมีสเกลในการบ่งบอกถึงค่าอุณหภูมิของแถบสีนั้นๆ อุณหภุมิที่ร้อนก็จะมีสีสว่าง และอุณหภูมิที่ต่ำกว่าก็จะมีสีที่มืดกว่า

ทำไมต้องใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน?

    ด้วยความสามารถของกล้องถ่ายภาพความร้อนที่มีอยู่มากเลยทำให้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ค่อนข้างหลากหลาย เช่น

  • การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุโดยตรง จึงสามารถใช้ได้กับงานในพื้นที่อันตราย งานที่มีความร้อนสูง หรืองานที่ไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายที่ผิวชิ้นงาน จากการสัมผัส

  • กล้องถ่ายภาพความร้อนช่วยให้เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเห็นได้จากสีของภาพถ่ายที่แตกต่างไปได้ทันที ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการชี้จุดผิดปกติได้โดยไม่เสียเวลา ตัวอย่างเช่นภาพด้านล่างซ้ายเป็นภาพถ่ายปกติของ Circuit Breaker ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่าก็คงไม่ทราบว่าตรงจุดไหนที่มีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้น หรือถ้าใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสมาทดสอบก็คงจะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับผู้ปฎิบัติงาน ทั้งยังมีโอกาสตรวจพลาด และยังต้องใช้เวลาในการหาจุดผิดปกตินานอีกด้วย แต่ภาพทางขวามือเป็นภาพถ่ายความร้อนที่สามารถแสดงสีที่แตกต่างของจุดที่มีความผิดปกติได้ทันที (จุด 1 อุณหภุมิ 58.5°C) ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจพบจุดผิดปกติได้อย่างแน่นอน ลดเวลาในการแก้ไขปัญหาและการบำรุงรักษา

    

  • ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนในงานตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ อุปกรณ์บางอย่างจะตรวจพบความผิดปกติได้ในขณะที่ทำงานอยู่ ซึ่งการใช้เครื่องทดสอบประเภทที่ต้องใช้โพร๊บสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ต้องการทดสอบในขณะที่ทำงานอยู่นั้นอาจจะไม่เหมาะสม เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือกลไกของเครื่องจักรที่ทำงานอยู่ หรืองานที่มีความร้อนสูงมากอาจจะทำให้ผู้ปฎิบัติงานได้รับบาดเจ็บได้ เช่นภาพด้านล่างเป็นภาพถ่ายความร้อนของมอเตอร์ขณะทำงานอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องวัดอุณหภูมิขณะที่กำลังทำงานอยู่จึงจะสามารถบอกได้ถึงความเป็นปกติหรือผิดปกติ เป็นต้น

กล้องถ่ายภาพความร้อนควรทำอะไรได้บ้าง?

    ปัจจุบันมีกล้องถ่ายภาพความร้อนหลายยี่ห้อ หลายรุ่น มีตั้งแต่ราคาย่อมเยาไปจนถึงราคาสูง ซึ่งความสามารถหรือฟังก์ชั่นการใช้งานก็จะแตกต่างกันไป แต่ความสามารถโดยหลักที่มีทั่วไปคือ

  • ถ่ายได้ทั้งภาพถ่ายจริง และภาพถ่ายความร้อน เพื่อให้สามารถนำรูปมาเปรียบเทียบได้ว่าถ่ายจากจุดใด ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งกล้องถ่ายรูป และกล้องถ่ายภาพความร้อน

  • ถ่ายภาพความร้อนได้ความคมชัด และความละเอียดของภาพดี ซึ้งขึ้นอยู่กับความละเอียดของเซนเซอร์จับภาพของรุ่นนั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะบอกเป็น pixel ซึ่งยิ่งมีค่ามากก็จะได้ภาพถ่ายที่ละเอียดและชัดเจนมากขึ้น

  • ถ่ายภาพความร้อนได้หลายแถบสี (Palette) ถ้ามีแถบสีให้เลือกใช้ได้มากก็จะสามารถใช้งานได้หลากหลายประเภทมากขึ้น เช่นสีแบบเหล็กมักจะใช้ในการตรวจสอบงานโครงสร้าง, สีขาว/ดำ จะช่วยในการตรวจหารายละเอียดในรูปภาพ และสีรุ้งจะเป็นสีที่ดีที่สุดที่สามารถบอกความแตกต่างของอุณหภูมิได้ รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างของแถบสีแต่ละแบบ

    กล้องถ่ายภาพความร้อนบางรุ่นจะสามารถทำการทับซ้อนภาพถ่ายจริงและภาพถ่ายความร้อนได้ โดยการปรับการทับซ้อนเป็นเปอร์เซนต์ ก็เป็นอีกฟังก์ชันหนึ่งที่ช่วยให้สะดวก และง่ายต่อการมอง

  • การเก็บบันทึกภาพถ่ายลงในหน่อยความจำทั้งภายใน และหน่วยความจำภายนอกเช่นSD Card เนื่องจากงานส่วนใหญ่ที่ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนจะอยู่ on site เสียเป็นส่วนใหญ่ การถ่ายภาพแล้วสามารถเก็บไว้และมาโหลดผ่านคอมพิวเตอร์ได้ในภายหลังจึงสะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก

  • Software สำหรับใช้ทำรายงาน และช่วยวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อน โดยส่วนใหญ่ Software ที่มีมาให้จะเป็นลักษณะรายงานรูปแบบสำเร็จรูปช่วยให้สะดวกและง่ายต่อการรายงาน

  • แบตเตอรี่ที่มีชั่วโมงการทำงานต่อเนื่องได้นาน เพราะงานส่วนใหญ่ที่ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนจะอยู่ on site เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางที่ไม่สะดวกที่จะใช้ไฟ 220 VAC แบตเตอรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

กล้องถ่ายภาพความร้อนมีข้อจำกัดหรือไม่?

    ไม่ควรใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนวัดอุณหภูมิของวัตถุที่มีความมันวาว หรือมีการสะท้อน เช่น กระจก, เหล็กที่มีความมันวาว และน้ำ เนื่องจากวัตถุเหล่านี้มีการสะท้อนทำให้กล้องถ่ายภาพความร้อนไม่สามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ถูกต้อง

    กล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นการวัดอุณหภูมิของวัตถุจากภายนอกแบบโดยรวม กล้องจะทำหน้าที่แค่แสดงแถบสีและค่าของอุณหภูมิวัตถุที่แตกต่างกันเท่านั้น ซึ่งกล้องถ่ายภาพความร้อนไม่ใช่เครื่องที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรที่ทำการวัดอุณหภูมินั้นเสีย หรือเป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานจะต้องมีข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์นั้น ๆ ประกอบในการวิเคราะห์ด้วย

การประยุกต์ใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน

  • การตรอจสอบสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย

  • การตรวจสอบความร้อนที่สูญเสียในอาคาร

  • การหาตำแหน่งของสายไฟหรือท่อที่มีความร้อน

  • ตรวจสอบอุปกรณ์ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่

  • การหาตำแหน่งที่เชื้อราเติบโต

  • การหาตำแหน่งที่หลังคาอาคารรั่ว

  • การหารูปแบบการกระจายความร้อนของท่อไอน้ำ

  • การตรวจสอบแบริ่ง

  • การตรวจสอบการรั่วของฉนวนในอุปกรณ์ทำความเย็น

 

DIGICON ITC-30 Thermal Camera ราคาประหยัด

 

DIGICON  ITC-131 , ITC-132 Thermal Camera ที่มาพร้อมฟังก์ชันการทำงานมากมาย

หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัดโทร. 02-299-3333, 02-022-9999 หรือ [email protected]
 

 

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ