การวัดความสั่นสะเทือนทั้ง 3 แกน
การวัดความสั่นสะเทือนทั้ง 3 แกน
เมื่อต้องการลดต้นทุนด้วยการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรต่างๆ การวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรถือเป็นตัวเลือกแรกๆและเป็นพื้นฐานสำหรับงานซ่อมบำรุง การวัดความสั่นสะเทือนเป็นการวัดและประเมินสภาพของเครื่องจักร เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรก่อนล่วงหน้าที่เครื่องจะเกิดการเสียหาย หรือ break down การวัดความสั่นโดยปกติจะทำการวัดที่จุดเดิมตลอด และมีการวัดทั้งหมด 3 แกนคือ
Horizontal หรือ H คือวัดในแนวรัศมีแนวนอน Vertical หรือ V คือวัดในแนวรัศมีแกนตั้ง Axial หรือ A คือวัดในแนวแกนเพลา |
ค่าที่วัดได้แต่ละแกน จะบ่งบอกถึงสาเหตุหรือที่มาของการสั่นสะเทือนที่ต่างกัน โดยสรุปแล้ว ค่าที่วัดได้แต่ละแกนจะมีความหมายดังนี้
1. ค่าความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในแนวนอน หมายถึง การไม่สมดุลย์ หรือ Unbalance ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากส่วนหนึ่งส่วนใดในเครื่องจักรมีการเสียหาย เมื่อมีการหมุนจึงทำให้เกิดการเหวี่ยง ตัวอย่างเช่น หากใบพัดของพัดลมหักไป 1 ใบจะทำให้พัดลมหมุนแกว่ง
2. ค่าความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในแนวตั้ง หมายถึง การหลวมคลอน หรือ Looseness อาจเกิดจากมีการสึกหรอของตัวรองรับหรือการหลวมคลอนของอุปกรณ์จับยึด ทำให้เครื่องจักรเคลื่อนที่ออกจากตัวฐาน
3. ค่าความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในแนวแกน หมายถึง การเยื้องศูนย์ หรือ Misalignment อาจเกิดจากการคดงอของเพลาหรือการไม่ได้ศูนย์ระหว่างข้อต่อหรือ coupling
การวัดความสั่นทั้ง 3 แกนจะช่วยให้เราวิเคราะห์หาสาเหตุของการสั่นสะเทือนเพื่อซ่อมบำรุงให้ถูกจุด ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในงานซ่อมบำรุง
เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Digicon TV-320
|
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม https://bit.ly/2MiINBd