ทนกว่า ด้วยมัลติมิเตอร์ คุณภาพจากเยอรมัน

ทนกว่า ด้วยมัลติมิเตอร์ คุณภาพจากเยอรมัน

มัลติมิเตอร์ คืออะไร

มัลติมิเตอร์คือเครื่องมือวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้าที่รวมเอาทั้งแอมป์มิเตอร์ โวลท์มิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ และมิเตอร์วัดค่าปริมาณทางไฟฟ้าอื่นๆ ไว้ในเครื่องเดียวกัน

มัลติมิเตอร์มี 2 ประเภทด้วยกันคือ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม หรือเรียกอีกอย่างว่ามัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก และมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล หรือดิจิตอลมัลติมิเตอร์ โดยทั่วไปแล้วการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน แต่ดิจิตอลมัลติมิเตอร์จะใช้งานง่าย มีฟังก์ชันที่หลากหลาย และมีย่านการวัดที่สูงกว่ามัลติเตอร์แบบเข็ม

ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ RM Series มีจุดต่างจากดิจิตอลมัลติมิเตอร์ในท้องตลาดอย่างไร?

ดิจิตอลมัลติเตอร์ RM series เป็นมัลติมิเตอร์ภายใต้แบรนด์ Richtmass จากประเทศเยอรมัน ซึ่งการออกแบบเป็นไปตามมาตรฐานยุโรป ตัวเครื่องทนทานแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย ระบบการวัดเป็นแบบ TRUE RMS และครบครันทุก ฟังก์ชันพื้นฐาน มีระบบป้องกันอันตรายทั้งระบบ auto locked ที่ป้องกันการต่อสายวัดผิด และฟิวส์ป้องกันกระแสเกิน จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกท่านที่กำลังมองหาดิจิตอลมัลติเตอร์เจ๋งๆซักตัว

Feature เด่น Function โดนใจ

  • ออกแบบตามมาตรฐาน IEC-1010 CAT IV ด้วยเทคโนโลยีการผลิตมาตรฐานเยอรมัน
  • มีระบบป้องกันความผิดพลาดของการเสียบสายวัด หมดปัญหาเสียบสายวัดผิด
  • ฟิวส์ป้องกันไฟได้สูงถึง 20 แอมป์*
  • กรอบยางป้องกันเครื่องเพื่อการใช้งานที่สมบุกสมบัน ตกไม่แตก พร้อมที่เก็บสาย
  • สามารถวัดกระแสได้สูงถึง 300A เมื่อใช้ร่วมกับแคล้มพ์**
  • วัดอุณหภูมิ และสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้***

ฟังก์ชันทั่วไปของมัลติมิเตอร์มีอะไรบ้าง?

การวัดค่าแบบ Average และแบบ True RMS : ในระบบไฟฟ้ากระแสสลับสัญญาณจะเป็นลักษณะเป็นรูปคลื่น การวัดแบบ Average คือการวัดค่าโดยเฉลี่ยของการวัดไฟกระแสสลับ การวัดแบบ True RMS จะวัดโดยการคำนวณรูปคลื่นอย่างต่อเนื่องและลดทอนความผิดเพี้ยนของสัญญาณได้ ในระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่สัญญาณรูปคลื่นไม่มีความผิดเพี้ยน การวัดค่าแบบ Average และแบบ True RMS จะได้ค่าที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ถ้าในระบบที่มีความผิดเพี้ยนของสัญญาณ การวัดค่าแบบ True RMS จะได้ค่าที่ถูกต้องมากว่าแบบ Average

การวัดค่าความต่อเนื่องแบบมีเสียง : คือการวัดความต่อเนื่องของวงจรอย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่า จุดสองจุดเชื่อมถึงกันหรือไม่ เมื่อวงจรมีความต่อเนื่องหรือเชื่อมถึงกันก็จะมีสัญญาณเสียงออกมา จึงทำให้การตรวจสอบมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การทดสอบไดโอด : คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้ในการทดสอบไดโอด โดยการอ่านค่าแรงดันตกคร่อมตัวไดโอด ซึ่งจะได้ค่าประมาณ 0.6-0.7V (Germanium) หรือประมาณ 0.3V (Silicon) ในทิศทางหนึ่งและบอกว่าวงจรเปิดในทิศทางตรงกันข้าม ผลนี้แสดงว่าไดโอดดีอยู่ แต่ถ้าค่าที่อ่านได้จากการวัดทั้ง 2 ทิศทางนั้นเปิดทั้งคู่ แสดงว่าไดโอดขาด แต่ถ้าอ่านได้เป็นปิดทั้งคู่แสดงว่าไดโอดช๊อต (Short)

การวัดอุณหภูมิ : ฟังก์ชั่นที่ใช้ในการวัดค่าอุณหภูมิโดยจะต้องต่อร่วมกับโพร๊บรับอุณหภูมิ (Thermocouple) ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ ทำหน้าที่เปลี่ยนอุณหภูมิให้เป็นแรงดัน ก่อนที่จะส่งไปแสดงผลที่มิเตอร์ แต่ในมิเตอร์บางรุ่นก็สามารถต่อเข้ากับเทอร์โมคัพเปิ้ลได้โดยตรง เพราะมีตัวแปลงสัญญาณอยู่ภายในมิเตอร์อยู่แล้ว ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ Richtmass RM-Series สามารถวัดอุณหภูมิได้ด้วยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ Pt-100 รุ่น Z3409 สามารถวัดอุณหภูมิได้ถึง 850 องศาC

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ