แสงสว่างกับการใช้งานที่เหมาะสม

แสงสว่างกับการใช้งานที่เหมาะสม

 

     แสงสว่างเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พืช และสัตว์ ซึ่งแสงสว่างเกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์ หลอดไฟฟ้า และอื่นๆ แสงสว่างที่เกิดจากหลอดไฟฟ้า เราต้องมีการวางแผนใช้งานอย่างมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้การใช้แสงเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการประหยัดพลังงาน

     อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสบายตาในขณะประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ให้มีแสงสว่างมากหรือน้อยจนเกิดผลกระทบ หากมี “แสงสว่างที่น้อยเกินไป” จะมีผลเสียต่อสายตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไปจากการเพ่งมอง ทำให้เกิดอาการปวดตา มึนศีรษะ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในทางกลับกันหากมี “แสงสว่างที่มากเกินไป” จะทำให้ผู้ทำงานเกิดความไม่สบายสายตา ปวด แสบตา มึนศีรษะ วิงเวียน และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้และอาจเป็นสาเหตุของโรคสายตาได้อีกด้วย

     แสงชัยมิเตอร์ขอแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องวัดความเข้มแสง รุ่น LX-73 แบรนด์ DIGICON ที่จะช่วยให้เรารู้ค่าความเข้มของแสงสว่างได้ว่าเหมาะสมกับกิจกรรมของเราหรือไม่ เพื่อถนอมสายตา ลดการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติงาน งานมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดค่าไฟได้ด้วย

    ซึ่งเครื่องวัดความเข้มแสงรุ่นนี้ สามารถเลือกชนิดของแสงที่จะวัดได้ 3 ประเภทคือ ทังสเตน, ฟลูออเรสเซนต์ และโซเดียมหรือปรอท

หลอดทังสเตน (Tungsten Lamp)

“หลอดไส้” หรือ หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) ลักษณะของหลอดมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งหลักๆจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มใหญ่ คือ Tungsten Lamps (แบบหลอดไส้ธรรมดา) และ Tungsten Halogen Lamps (แบบหลอดทังสเตนฮาโลเจน)

  • หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) หรือ หลอดไส้

ใช้ทังสเตนเป็นไส้หลอด หลักการทำงานคือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดแล้วให้ความสว่าง มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่กินไฟมาก ปัจจุบันความนิยมลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะหลอดไฟประเภทอื่นมีประสิทธิภาพสูงกว่า

  • หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp)

เป็นหลอดไส้ชนิดหนึ่ง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด จะเกิดความร้อนแล้วเปล่งแสงออกมา แต่ภายในหลอดมีการบรรจุสารตระกูลฮาโลเจน เช่น ไอโอดีน เพื่อช่วยลดการสึกกร่อนของไส้หลอดทังสเตน ทำให้ทนทานขึ้น มักใช้กับงานประเภทส่องเน้นเป็นพิเศษ เช่น ตู้แสดงสินค้า เป็นต้น

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp)

  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp หรือ Fluorescent Tube)

เป็นหลอดลักษณะยาว หลักการทำงานคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขั้วไฟฟ้าที่บริเวณปลายหลอด จะทำให้ไอปรอทที่บรรจุภายในหลอดเกิดการเคลื่อนที่และคายพลังงานออกมาในรูปของรังสีอัลตร้าไวโอเลต และเมื่อรังสีนั้นไปกระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้บริเวณผิวด้านในของหลอด จึงเปล่งแสงที่มองเห็นได้ออกมา หลอดชนิดนี้ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 5 เท่า พบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน

  • หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent Lamp)

เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็ก มักเรียกว่า หลอดตะเกียบ มีขนาดกะทัดรัด ให้ความสว่างสูง เหมาะสำหรับใช้กับโรงงานหรืออาคารพาณิชย์

หลอด โซเดียม (Sodium lamp)

  • หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium Lamp : HPS)

เป็นหลอดไฟที่มีความสว่างถึง 140 ลูเมนต่อวัตต์ อายุการใช้งานนานถึง 24,000 ชั่วโมง แสงมีสีเหลืองอมส้ม นิยมใช้ตามไฟถนนที่มีสีเหลือง, ลานจอดรถใหญ่ๆ, สนามบิน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

  • หลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium Lamp : LPS)

หลอดไฟชนิดนี้สามารถเปล่งแสงที่มีความยาวคลื่นความยาวเดียวออกมา หลอดประเภทนี้มีแสงสีเหลือง เป็นแสงที่ตาคนเรารับรู้ได้ไวที่สุด เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาหลอดไฟทั้งหมด นิยมใช้ในกรณีที่ต้องเปิดเป็นเวลานานๆ เช่น ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หรือติดตั้งบริเวณตู้ ATM บางแห่งเพราะต้องเปิดไว้ทั้งคืน เป็นต้น

  • หลอดแสงจันทร์ หรือหลอดไอปรอท (Mercury Vapor Lamp)

มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่าหลอดไส้และหลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป ให้ความสว่างในช่วง 35 ถึง 65 ลูเมนต่อวัตต์ ให้แสงขาวที่มีความเข้มสูง จึงนิยมติดตั้งในบริเวณสถานที่ขนาดใหญ่ที่ต้องการแสงสว่างส่องอย่างต่อเนื่องจากด้านบน เช่น โรงงาน, โกดัง, สนามกีฬา เป็นต้น

รู้

ดำเนินการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างด้วยเครื่องวัดความเข้มแสง (Lux Meter) และนำค่าตรวจวัดที่ได้มาทำการประเมิน เพื่อปรับปรุงระบบส่องแสงสว่างให้มีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานที่ได้มีการกำหนด

ปรับ

วางผังบริเวณการทำงาน เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งกำเนิดแสงสว่าง ทำความสะอาดหลอดไฟ โคมไฟ และที่ครอบไฟ เปลี่ยนใหม่หากพบว่าชำรุด เพิ่มหลอดไฟ ติดตั้งโคม ลดระดับหลอดไฟ หรือจะใช้แสงจากธรรมชาติเข้ามาช่วย เช่น เพิ่มช่องรับแสงจากธรรมชาติ เป็นต้น จากนั้นทำการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างด้วยเครื่องวัดความเข้มแสง (Lux Meter) อีกครั้งว่าได้ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

ประหยัดพลังงาน / ปลอดภัย /เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เลือกใช้หลอดไฟที่เหมาะสม เลือกหลอดประหยัดพลังงาน ลดจำนวนหลอดไฟ ไม่เปิดไฟในบริเวณที่ไม่ได้ใช้งาน

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ