รังสี UV-C พิชิต Covid-19 ได้จริงหรือ?

รังสี UV-C พิชิต Covid-19 ได้จริงหรือ?

รังสี UV-C พิชิต Covid-19 ได้จริงหรือ?

      ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ระบาด  นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ใช้รังสี UV-C ในการฆ่าเชื้อ  ซึ่งจะสามารถทำให้ปลอดภัย  ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้มากขึ้น  แต่ความคิดนี้จะจริงหรือไม่?

ทำความรู้จักกับรังสี UV

      แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ มีด้วยกัน 2 ส่วนคือ ส่วนที่มองเห็น (Visible) เป็นแถบสีที่เราเรียกว่ารุ้งกินน้ำ และส่วนที่มองไม่เห็น ส่วนที่มองไม่เห็นนี้จะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมา แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ รังสี Ultraviolet ที่เรียกย่อๆว่า UV และ รังสี Infrared

รังสี UV กับการฆ่าเชื้อโรค

เนื่องจากรังสี UV มีความสามารถในการเผาไหม้สูง นักวิทยาศาสตร์จึงสร้างหลอดรังสี UV เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมาเพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคเรียกกว่าหลอด Germicidal Lamp (เจิมมิไซโดล แลมป์) หรือเรียกทั่วไปว่า หลอด UV หรือหลอดฆ่าเชื้อ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้หลอด UV ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ห้องผ่าตัด ใช้ฆ่าเชื้อในอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางค์ เป็นต้น

หลอด UV มีลักษณะอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกันกับหลอดไฟทั่วๆไปคือความเสื่อมจากการใช้งาน เมื่อใช้งานหลอด UV ไประยะหนึ่งมันจะเริ่มเสื่อมสภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นคือปริมาณความเข้มของแสงจะลดลงและส่งผลให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อลดตามลงไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้การฆ่าเชื้อยังคงประสิทธิภาพเราจำเป็นจะต้องหมั่นตรวจสอบความเข้มแสงของหลอด UV อยู่เป็นระยะๆ

รังสี UV ฆ่าเชื้อ Covid-19 ได้จริงหรือ?

      จากงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า การใช้ปริมาณรังสี UV-C ที่มากกว่า 3240 J/m2 สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ P9 ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ (SARS) ได้หมด เมื่อเทียบเคียงกับ Covid-19 กับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์นี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่รังสียูวีจากหลอดชนิด Ozone free Germicidal Lamp จะสามารถฆ่าเชื้อ Covid-19 ได้

      นักไวรัสวิทยา ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ได้ทำการทดลองการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าจากสุกรด้วยรังสี UV-C ประมาณ 30 นาที ปรากฎว่าได้ผล ซึ่งก็แสดงว่าสามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัส Covid-19 ได้เนื่องจากเป็นสายพันธุ์เดียวกัน  ดร.อนันต์ ยืนยันว่ามีความปลอดภัยกว่าการฉีดทำความสะอาด ด้วยแอลกอฮอล์. การใช้ความร้อน การซัก  ซึ่งอาจทำให้วัสดุเสื่อมสภาพและสุ่มเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย  ทั้งนี้ หากกังวลว่าความเข้มของแสงยูวีทางการแพทย์อ่อนไป ก็ควรเพิ่มเวลาในการฆ่าเชื้อให้นานขึ้นจาก 30 นาที เป็น 1 ชั่วโมง  ซึ่งเหมาะสำหรับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ ธนบัตร กุญแจ กระเป๋าสตางค์ จาน ชาม หรืออุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะแพร่เชื้อโรค

การประยุกต์ใช้งานและข้อควรระวัง

      การใช้หลอด UV-C ฆ่าเชื้อควรใช้หลอดชนิด Ozone free Germicidal Lamp เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซโอโซน การสร้างตู้ฉายรังสี UV-C ควรออกแบบให้เป็นระบบปิดไม่ให้รังสีหลุดออกมาภายนอกได้ เหมาะกับการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือหน้ากากอนามัย และรังสี UV-C แม้จะมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษสามารถทำอันตรายแก่ดวงตาและผิวหนังได้

      การตรวจสอบค่าความเข้มของแสง UV-C เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อและป้องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือวัดที่ออกแบบให้สามารถวัดความเข้มของแสง UV ในย่าน UV-C ได้โดยเฉพาะเพื่อให้สามารถวัดค่าได้อย่างถูกต้อง

  เครื่องวัดแสงยูวี บันทึกค่าผ่าน SD card

  DIGICON / Model : UV-370SD

  • วัดความเข้มของแสง UV เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
  • วัดความเข้มของแสง UV ที่อาจเล็ดลอดออกมาเพื่อป้องกันอันตราย
  • วัดได้ทั้งแสง UVA และ UVC
  • ย่านการวัด 0~20 mW/cm2
  • สเปคตรัมของเซนเซอร์ตรวจวัดแสงยูวี 240 nm ~ 390 nm
  • เก็บข้อมูลใน SD Card ได้ (1~16 GB)

 

ที่มา

https://www.mcot.net/viewtna/5e6ce453e3f8e40af1420405
http://www.nimt.or.th/main/?p=31168

 

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ