เครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โหลดเซลล์

เครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โหลดเซลล์

โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ (Strain Gauge Load cell) หลักการของโหลดเซลล์ ประเภทนี้ก็คือ เมื่อมีน้ำหนักมากระทำ ความเครียด (Strain) จะเปลี่ยนเป็นความต้านทานทางไฟฟ้าในสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่มากระทำ ปกติแล้วมักจะใช้เกจวัดความเครียด 4 ตัว 

โดยทั่วไปเราใช้วงจร Wheatstone Bridge Circuit ในการวัดโดยเกจตัวต้านทานทั้งสี่จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอยู่ในวงจร เพื่อใช้แปลงแรงที่กระทำกับตัวของมันไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงแล้วส่งสัญญาณออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า โดยที่แรงดันไฟฟ้าที่ได้จะมีหน่วยเป็น mV/V หมายความว่า ถ้าจ่ายแรงดัน 10 V ให้กับ Load cell ที่มี Spec. 2 mV/V ที่ Full load สมมุติว่าน้ำหนักเป็น 2,000 กิโลกรัม ดังนั้นเมื่อมีแรงกระทำต่อ Load cell ที่
น้ำหนัก Full load สัญญาณที่จะได้ก็จะได้
เท่ากับ 20 mV ซึ่งก็พอจะแจงคร่าวๆ คือ

0 Kg = 0 mV
1000 Kg = 10 mV
2000 Kg = 20 mV

 

วิธีการใช้เครื่องชั่ง เพื่อให้มีความถูกต้องและความแม่นยำมากขึ้น เราควรปฏิบัติดังนี้

   
   

สิ่งที่ควรปฏิบัติ

รายละเอียด

ชั่งน้ำหนักวัตถุที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิของวัตถุเท่ากับอุณหภูมิห้อง

ในกรณีที่ชั่งวัตถุร้อน ความร้อนจะทำให้อากาศลอยตัวขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะไหลเข้ามาแทนที่ กระแสของอากาศเย็นจะดันวัตถุขึ้น ทำให้น้ำหนักของวัตถุไม่เสถียร และน้อยกว่าค่าจริง

ในการชั่งวัตถุแห้ง ต้องมั่นใจว่าวัตถุที่จะชั่งนั้นแห้งและไม่มีความชื้น

ความชื้นอาจทำให้จานชั่งเป็นสนิมได้ นอกจากนี้น้ำหนักจากการชั่งวัตถุที่ชื้นก็จะไม่เสถียร เพราะความชื้นจะระเหยออกมาตลอดเวลา

ชั่งน้ำหนักวัตถุในปริมาณที่เหมาะสมกับเครื่องชั่ง

เราควรทำการชั่งวัตถุเพื่อหาน้ำหนักคร่าวๆ ก่อนโดยใช้เครื่องชั่งแบบจานชั่งอยู่ด้านบน แล้วค่อยชั่งอย่างละเอียดด้วยเครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับงานวิเคราะห์
อีกครั้งหนึ่ง

ใช้เครื่องชั่งเครื่องเดิมในการชั่ง

บ่อยครั้งที่งานวิเคาะห์ต้องมีการชั่งน้ำหนักสารมากกว่าหนึ่งครั้ง เราควรใช้เครื่องชั่งเดิมในการชั่ง เพื่อเป็นการลดความ ผิดพลาดอันเนื่องมาจากความแตกต่างของเครื่องชั่ง

ใช้ภาชนะรองสารที่จะชั่ง

ภาชนะชั่งจะช่วยป้องกันไม่ให้สารสัมผัสกับจานชั่งโดยตรง เช่น ภาชนะรองชั่งทำมาจากโพลีโพรพิลีน (polypropylene) ซึ่งไม่ดูดซับความชื้น และราคาถูก นอกจากนี้ยังมีภาชนะชั่งที่ทำจากแก้วและเหล็กกล้าไร้สนิมอีกด้ว

   
   
   

ข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล

1. ขอบเขตการชั่ง  หรือความสามารถในการชั่ง โดยทั่วไปดูจากน้ำหนักน้อยสุดและมากสุดที่เครื่องสามารถวัดได้ ในการพิจารณาเลือกซื้อควรดูจากปริมาณของที่ต้องการชั่งเป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้องการชั่งของน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ควรเลือกเครื่องที่มีขอบเขตชั่งได้มากสุด 1 หรือ 2 กิโลกรัม  เนื่องจากถ้าเลือกเครื่องชั่งที่มีขอบเขตในการชั่งกว้างมากจะเป็นปัจจัยหนึ่งให้เครื่องชั่งมีราคาสูง  นอกจากนี้การชั่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าที่เครื่องกำหนดจะเกิดผลเสียต่อเครื่อง

2. ความสามารถในการอ่านค่า  หรือความแตกต่างของน้ำหนักที่เครื่องสามารถอ่านค่าได้  พิจารณาจากน้ำหนักของที่ต้องการชั่งและเลือกเครื่องชั่งที่ให้ความแตกต่างของน้ำหนักที่คุณต้องการ เช่น

  • ต้องการชั่งแป้งสาลี 100.6 กรัม  ควรเลือกเครื่องชั่งที่มีความสามารถในการอ่านค่าที่ 0.1 กรัม
  • ต้องการชั่งสารเคมี 10.250 กรัม ควรเลือกใช้เครื่องชั่งที่มีความสามารถในการอ่านค่าที่ 1 มิลลิกรัม

3. ความแม่นยำ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทราบว่าน้ำหนักที่วัดได้มีความผิดพลาดมากน้อยเพียงใด พิจารณาจากค่า linearity และค่าความคลาดเคลื่อน เช่น +/- 10 กรัม หมายถึงน้ำหนักที่ชั่งได้ 500 กรัม อาจอยู่ในช่วง 490-510 กรัม นอกจากนี้สภาวะในการชั่งยังส่งผลต่อความแม่นยำของน้ำหนักอีกด้วย เช่น การสั่นไหวของพื้นที่ที่วางเครื่องชั่ง หรือแม้แต่ลมที่พัดผ่านเข้ามา

4. น้ำหนักเริ่มต้นเป็นศูนย์ (Tare) หรือการลบน้ำหนักภาชนะที่ใส่ก่อนบรรจุของที่ต้องการชั่ง ในการใช้ปุ่ม tare จะทำให้ผู้ใช้เริ่มต้นน้ำหนักของเครื่องชั่งจากศูนย์โดยหักลบน้ำหนักของภาชนะบรรจุ เช่น จาน หรือถุงพลาสติก เพื่อให้ได้ค่าที่แท้จริงของน้ำหนักที่ต้องการทราบค่า  โดยทั่วไปฟังค์ชั่นนี้ไม่ช่วยเพิ่มความสามารถในการชั่งของเครื่อง ตัวอย่างเช่น

  • คุณใช้เครื่องชั่งที่มีความสามารถในการชั่งมากสุดที่ 100 กรัม จากนั้นวางจานซึ่งหนัก 10 กรัมลงไป แล้ว tare เพื่อให้ได้ค่าเริ่มต้นเท่ากับศูนย์ คุณจะสามารถชั่งของได้มากที่สุดอีก 90 กรัมเท่านั้น  โปรดจำไว้ว่าการชั่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าความสามารถของเครื่องชั่งนั้น อาจทำให้ความแม่นยำและตัวเครื่องชั่งเสียหายได้

5. หน่วย  เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลส่วนใหญ่สามารถอ่านค่าได้ที่หน่วยกรัม หรือเครื่องชั่งดิจิตอลบางแบบสามารถเปลี่ยนหน่วยเป็น ออนซ์ ปอนด์ และนิวตันส์ ในห้องปฏิบัติการนั้นมักใช้เครื่องชั่งหน่วยกรัมหรือมิลลิกรัมในการอ่านค่า หรือทางฟิสิกส์มักอ่านค่าเป็น
นิวตัน  สำหรับเครื่องชั่งน้ำหนักร่างกายมักอ่านค่าเป็นหน่วยออนซ์ ปอนด์ หรือกิโลกรัม

 

 

เครื่องชั่งที่บริษัทฯ จำหน่ายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

 เครื่องชั่งแบบตั้งโต๊ะ แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ 

CL II-Series เป็นเครื่องชั่งและนับจำนวนระบบดิจิตอล สามารถชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 1.5 กก., 
3 กก., 6 กก., 7.5 กก., 15 กก. และ 30 กก. ให้เลือกใช้งาน มีระบบการตรวจสอบน้ำหนักแบบ HI/OK/LO  และมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักและจำนวนชิ้นได้สูงสุด 99 ชิ้น ด้วย

SNUG IIIn Series เป็นเครื่องชั่งที่มีความละเอียดสูงที่สามารถชั่งน้ำหนักและนับจำนวนได้ สามารถชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 150 กรัม, 300 กรัม, 600 กรัม, 1500 กรัม และ 3000 กรัม ให้เลือกใช้งาน 


 

เครื่องชั่งแบบตั้งพื้น  

 

JPS Series สามารถชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 60 กก., 150 กก. และ 300 กก. ให้เลือกใช้งาน ซึ่งจานรองน้ำหนักทำจากสเตนเลสอย่างดี ทำความสะอาดและป้องกัน Load Cell จากความเปียกชื้นได้ อีกทั้งจอ LCD ขนาดใหญ่ อ่านง่าย พร้อมไฟดูในที่มืด (Backlight) 

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ