เทคนิคการเลือกใช้ม่านลำแสงนิรภัยให้อุบัติเหตุเป็น “0”

เทคนิคการเลือกใช้ม่านลำแสงนิรภัยให้อุบัติเหตุเป็น “0”

     ม่านลำแสงนิรภัย หรือ Safety Light Curtain เป็นเซนเซอร์ที่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย ใช้หลักการทำงานคือ เมื่อลำแสงถูกบังจะมีสัญญาณไปตัดระบบให้เครื่องจักรหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใดๆ และถ้าหากเกิดความบกพร่องต่อระบบส่งและรับแสงทำให้แสงดับหรือความผิดปกติใดๆ ที่เกิดจากตัวม่านลำแสงนิรภัยเอง เครื่องจักรจะต้องไม่ทำงานด้วยเช่นกัน

     นิยมนำมาใช้ติดตั้งหน้าเครื่องจักรอันตราย อาทิเครื่องตัด, พับ, ตอก, เจาะ, ปั๊ม หรือ Robot เคลื่อนที่อัตโนมัติ เพื่อป้องกันอันตรายจากความเผลอเลอของพนักงานที่อาจยื่นมือหรืออวัยวะใดๆ เข้าไปขณะเครื่องทำงาน

เทคนิคที่1 : เลือกม่านลำแสงที่มีระบุมาตรฐานรับรองความปลอดภัยชัดเจน

     "ม่านลำแสงนิรภัยจะมีการระบุระดับ Category หรือ Type ที่ตัวม่านลำแสงอย่างชัดเจน"

     ม่านลำแสงนิรภัย (Safety Light Curtain) ถูกแบ่งออกตามประเภทของระดับความอันตราย (ความเสี่ยง) ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ISO13849 แบ่งเป็น 5 ระดับ ประกอบด้วย ประเภท B และประเภท 1-4

Category B : อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานทั่วไป

Category 1 : อุปกรณ์ป้องกันภัยขั้นพื้นฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่า B

Category 2 : อุปกรณ์นิรภัยจะมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเอง จะรู้ได้ว่าตัวอุปกรณ์มีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ โดยผู้ใช้เลือกใช้ฟังก์ชันการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์

Category 3 : อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองโดยอัตโนมัติเฉพาะในส่วนที่สำคัญหรือส่วนที่มีโอกาสเสียได้มาก

Category 4 : อุปกรณ์นิรภัยมีระบบตรวจสอบการทำงานของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในส่วนใดๆของอุปกรณ์ ระบบจะแจ้งเตือนและจะมีระบบสำรองทำงานแทนเพื่อให้ระบบความปลอดภัยยังทำงานได้อยู่

ตัวอย่างรูปม่านแสงนิรภัยระบุมาตรฐานรับรองความปลอดภัยชัดเจน

เทคนิคที่2 : เลือกระดับ Category หรือ Type ให้เหมาะกับงาน

     แบบไหนจะเหมาะกับเรา? ง่ายๆค่ะ เราเพียงเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงของอุบัติเหตุและความอันตรายของเครื่องจักรและลักษณะงานของเราก่อน โดยมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ง่ายๆ ดังนี้

การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนพื้นฐาน คือ

  1. การชี้บ่งอันตรายประมาณค่าความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง

  2. ความเป็นไปได้ และความรุนแรงของความเสียหาย

  3. ตัดสินว่าความเสี่ยงใดที่ยอมรับได้

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง (ISO/IEC) จะเริ่มจากความรุนแรง ของการบาดเจ็บ ความถี่ของความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะเกิดขึ้น และความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าว โดยแสดงรายละเอียดของการประเมิน ดังนี้

S : ความรุนแรงของการบาดเจ็บ

  • S1 : บาดเจ็บเล็กน้อย เช่น บาดแผลฟกช้ำดำเขียว

  • S2 : รุนแรงมาก เช่น แขนขาขาดและเสียชีวิต

F : ความถี่ของความเสี่ยงต่ออันตราย

  • F1 : นานๆ ครั้ง หรือความเสี่ยงช่วงสั้นๆ

  • F2 : เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือความเสี่ยงช่วงยาวๆ

P : ความเป็นไปได้ของการหลีกเลี่ยงอันตราย

  • P1 : เป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไข

  • P2 : แทบจะเป็นไปไม่ได้

ตัวอย่างการเลือกประเภท Category/Type

- การชนกับยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ

- ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องตัดกระดาษกึ่งอัตโนมัติ

เทคนิคที่3 : เลือกระยะห่างระหว่างบีมลำแสงและความสูงของม่านลำแสงนิรภัย ให้เหมาะกับลักษณะงาน

     ม่านลำแสงที่จำหน่ายในท้องตลาดจะมีให้เลือกใช้งาน 3 แบบ คือตรวจจับนิ้ว ตรวจจับมือ ตรวจจับแขนหรือเท้า

ซึ่งจะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะการปฏิบัติงานว่าโอกาสที่อวัยวะที่ยื่นเข้าไปนั้นเป็นอวัยวะส่วนไหน และติดตั้งม่านลำแสงนิรภัยห่างจากเครื่องจักรมากหรือน้อย หากจำเป็นต้องติดในระยะใกล้การเลือกระยะห่างระหว่างบีมลำแสงน้อย

จะดีและปลอดภัย ส่วนความสูงของม่านลำแสงนิรภัยควรเลือกให้ไม่เกิดช่องว่างที่จะให้อวัยวะรอดผ่านเข้าไปในเครื่องจักรได้

ตัวอย่างการติดตั้งม่านลำแสงนิรภัยที่เหมาะสม

       

 

แต่หากคุณไม่แน่ใจในการเลือกใช้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แผนกผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ PEWSUNX

โทร 086-340-4279, 086-448-85651 หรือ [email protected]

บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด ยินดีให้บริการค่ะ

 

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ