หน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าที่ควรรู้ก่อนใช้งาน Power Meter

หน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าที่ควรรู้ก่อนใช้งาน Power Meter

ทำไม?? เราถึงต้องรู้หน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าก่อนใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ และพาวเวอร์มิเตอร์ คืออะไร

วันนี้เรามีคำตอบมาให้ พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดและวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้ารวมถึงคุณภาพของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแสดงค่าวัดเป็นพารามิเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน, กระแสไฟ, กำลังไฟที่ใช้งานจริง, กำลังไฟรีแอคทีฟ และค่าฮาร์มอนิก โดยเราจะใช้พาวเวอร์มิเตอร์ในการวัดเพื่อให้ทราบถึงค่าทางไฟฟ้าในกระบวนการผลิต หรือปริมาณการใช้งานพลังงานไฟฟ้าได้ ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าที่วัดได้จากหน้าจอที่แสดงผลบนตัวเครื่องได้เลย ซึ่งสามารถนำเอาข้อมูลไปใช้วิเคราะห์เพิ่มเติมสำหรับการควบคุมพลังงานหรือช่วยทำให้ประหยัดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

ชื่อหน่วย หน่วยเรียก สัญลักษณ์
แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) โวลต์ (Volt) V
กระแสไฟฟ้า (Current) แอมแปร์ (Ampere) A
ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) โอห์ม (Ohm)
กำลังไฟฟ้า (Electric Power) วัตต์ (Watt) W
พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) วัตต์ชั่วโมง หรือ ยูนิต (Unit) Wh
ความถี่ (Frequency) เฮิรซ์ (Hertz) Hz

หน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้า เป็นหน่วยมาตรฐานสากล ซึ่งมีหน่วยวัดทางไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่หลักๆ 6 หน่วย ดังนี้

1. แรงดันไฟฟ้า (Voltage) หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (สัญลักษณ์ : V)

เป็นแรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านความต้านทานของวงจรระหว่างจุดสองจุด ทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากประจุลบไปยังประจุบวก จนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ในวงจร

2. กระแสไฟฟ้า (Current) มีหน่วยเป็น แอมแปร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์ : A)

เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที โดยการเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องของอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปสู่อะตอมหนึ่ง จากวัตถุที่มีประจุลบไปยังวัตถุที่มีประจุบวก

3. ความต้านทานทางไฟฟ้า (Resistance) มีหน่วยเป็น โอห์ม (สัญลักษณ์ : Ω)

เป็นค่าของอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการต้านกระแสการไหลของไฟฟ้า ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็มีค่าที่ไม่เท่ากัน โดยจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์แต่ละชนิด

4. กำลังไฟฟ้า (Electric Power) มีหน่วยเป็น วัตต์ (สัญลักษณ์ : W)

เป็นค่าที่แสดงถึงอัตราการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน

5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy) มีหน่วยเป็น วัตต์ชั่วโมง หรือ ยูนิต (สัญลักษณ์ : Wh)

เป็นค่าที่แสดงถึงการใช้กำลังไฟฟ้าในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นค่าที่เราเอาไว้สำหรับใช้คำนวณค่าไฟฟ้าตามบ้านเรือน

6. ความถี่ (Frequency)มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (สัญลักษณ์ : Hz)

เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความถี่หรือวัดจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าสลับต่อวินาที

หน่วยการวัดค่ากำลังไฟฟ้าและ Power Factor เป็นหน่วยวัดที่ต้องรู้จักก่อนที่จะใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ ประกอบไปด้วย

  • kW หรือ Active Power (Real Power) คือ กำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโหลดแล้วได้พลังงานรูปอื่น เช่น แสงสว่าง ความร้อน

  • kVAR หรือ Reactive Power คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสร้างสนามแม่เหล็กของมอเตอร์ หรือหม้อแปลงไฟฟ้า รีเลย์ เป็นต้น

  • kVA หรือ Apparent Power คือ ผลรวมทางเวกเตอร์ของ kVAR และ kW เป็นกำลังไฟฟ้าโดยรวมทั้งหมดที่ต้องจ่าย

  • ค่า PF หรือ Power Factor คือ ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า หรือ kW/kVA ดังนั้น ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ที่สูง หมายถึงมีความสูญเปล่าที่น้อยกว่า การวัดค่าทางกำลังไฟฟ้าเหล่านี้ จึงมีประโยชน์ในการปรับปรุง ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์

  1. ควรรู้จุดหรือตำแหน่งที่ต้องการติดตั้ง และตรวจวัดพลังงาน รวมถึงรูปแบบในการติดตั้งก่อนนำไปใช้งาน

  2. ควรรู้การต่อระบบไฟฟ้าเพื่อใช้ในการตรวจวัด เช่น 1 เฟส 2 สาย, 3 เฟส 4 สาย และ 3 เฟส 3 สาย

  3. ควรทราบข้อมูลด้านเทคนิค เพื่อสามารถเลือกใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ได้ถูกต้องตามความต้องการ เช่น Input, Output ช่วงที่ต้องการวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงอุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น

  4. ควรศึกษาคู่มือการใช้งานก่อนการติดตั้งว่า มีอุปกรณ์เสริมช่วยทำให้ตรวจวัดพลังงานให้มากขึ้น หรือมีการต่อสายอย่างไร เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายหลังจากการติดตั้ง

  5. ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่โชว์บนหน้าจอ ฟังก์ชันใช้งานต่างๆ เพื่อการใช้งานได้ตรงตามความต้องการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทีนี้เราจะมาแนะนำ พาวเวอร์มิเตอร์ รุ่นที่ขายดี ราคาไม่แพงและทางโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ นิยมใช้งานกัน มาให้ดูรายละเอียดกันแบบชัดๆ ไปเลยว่า มีคุณสมบัติโดดเด่นอะไรบ้าง

ขอแนะนำเป็นรุ่นนี้เลย

มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้าแบบติดแผง PANASONIC KW9M Series

  • เป็น Eco Power Meter ขนาดมาตรฐาน หน้าปัด DIN 96X96

  • หน้าจอแสดงผลแบบ LCD Backlight ขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นในที่มืดได้ชัดเจน

  • สามารถแสดงค่ากำลังไฟในการวัดและกำลังไฟรวมของแต่ละเฟสบนจอเดียวกัน

  • ความเที่ยงตรงสูง 0.2% (ในการวัดกระแสไฟ/ แรงดันไฟ) (เฉพาะรุ่น AKW92112)

  • วัดค่าฮาร์มอนิกเพื่อการวิเคราะห์ความผิดเพี้ยนของระบบไฟฟ้าได้ (เฉพาะรุ่น AKW92112)

  • สามารถตรวจสอบความสมดุลของแรงดันไฟ กระแสไฟ ระหว่างเฟส เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ (เฉพาะรุ่น AKW92112)

  • วัดค่าทางไฟฟ้าได้หลายค่า : kWh, kvarh, kVAh, kW, kvar, kVA, V, A, Power factor, Hz, Conversion value, Temperature หรือหากอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของ PANASONIC KW9M Series

สามารถคลิกดูได้ที่ https://bit.ly/3Ux9amU

ข้อมูลอ้างอิงจาก :
http://www.metrelthailand.com/index.php/knowledge/68-power-factor-measurement

สนใจติดต่อสอบถาม บริษัท แสงชัยมิเตอร์ จำกัด

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี

มากประสบการณ์

ให้บริการด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปี

สินค้าคุณภาพ

มากกว่า 10,000 รายการ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

บริการด้วยใจ

รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2553

Call Center: 02-299-3333

ตั้งแต่วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30-17.30 น. และวันเสาร์ เวลา 8.30 - 15.30 น.

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือ สมัครเป็นสมาชิกของเรา

สมาชิกสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน และ Software ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานตัวเครื่อง รวมถึงได้รับความสะดวกสบายในการขอใบเสนอราคา คุณสามารถ:

ลืมรหัสผ่าน?

สินค้าในใบเสนอราคาของคุณ

คุณยังไม่ได้เลือกใส่สินค้า
ในใบเสนอราคาของคุณ